วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

project

project

กลุ่มที่ 10

สมาชิกกลุ่ม 
นางสาวศิริวรรณ    ติงสมิตร   เลขที่ 16   ชั้น ม.5/11
นางสาวชญานิษฐ์  ศรอินทร์   เลขที่ 17   ชั้น ม.5/11
นางสาวกชรัตน์      ตรีเพชรประภา  เลขที่ 34   ชั้น ม.5/11

วิธีดำเนินการ
วัสดุอุปกรณ์ 
1.คอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต
2.โทรศัพท์ อัดวีดีโอ
3.โปรแกรมตัดต่อคลิปและตกแต่ง
ขั้นตอนการดำเนินการ
1.คิดหัวข้อเรื่อง
2.ปรึกษาครูที่ปรึกษา
3.ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่สนใจ
4.ศึกษาการสร้างเว็บบล็อก
5.จัดทำโครงร่างโครงงานเพื่อนำเสนอ
6.ปฎิบัติจัดทำโครงงานการพัฒนาเว็บบล็อก
7.นำเสนอความก้าวหน้าเป็นระยะๆ

ผลการดำเนินการ 
การทำโครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดให้ลดน้อยลง และทำให้คนในสังคมหันมาสนใจในการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัด เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานสามารถนำโครงงานที่จัดทำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

แหล่งเรียนรู้
โรงเรียนสุราษฎร์พิทยาและสถานที่บริเวณในเมืองสุราษฎร์ธานี

หลักฐานประกอบ
http://goo.gl/dEqgCa <<คลิ๊กที่นี่




project

project

กลุ่มที่ 10

สมาชิกกลุ่ม 
นางสาวศิริวรรณ    ติงสมิตร   เลขที่ 16   ชั้น ม.5/11
นางสาวชญานิษฐ์  ศรอินทร์   เลขที่ 17   ชั้น ม.5/11
นางสาวกชรัตน์      ตรีเพชรประภา  เลขที่ 34   ชั้น ม.5/11

วิธีดำเนินการ
วัสดุอุปกรณ์ 
1.คอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต
2.โทรศัพท์ อัดวีดีโอ
3.โปรแกรมตัดต่อคลิปและตกแต่ง
ขั้นตอนการดำเนินการ
1.คิดหัวข้อเรื่อง
2.ปรึกษาครูที่ปรึกษา
3.ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่สนใจ
4.ศึกษาการสร้างเว็บบล็อก
5.จัดทำโครงร่างโครงงานเพื่อนำเสนอ
6.ปฎิบัติจัดทำโครงงานการพัฒนาเว็บบล็อก
7.นำเสนอความก้าวหน้าเป็นระยะๆ

ผลการดำเนินการ 
การทำโครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดให้ลดน้อยลง และทำให้คนในสังคมหันมาสนใจในการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัด เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานสามารถนำโครงงานที่จัดทำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

แหล่งเรียนรู้
โรงเรียนสุราษฎร์พิทยาและสถานที่บริเวณในเมืองสุราษฎร์ธานี

หลักฐานประกอบ
http://goo.gl/dEqgCa <<คลิ๊กที่นี่



วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการเขียนสารคดี

1.ตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียน การตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียนเป็นสิ่งสำคัญเบื้องต้นของการเขียนสารคดี ทั้งนี้เพราะการเขียนสารคดีแต่ละเรื่อง ผู้เขียนย่อมมีจุดมุ่งหมายในการเขียนแตกต่างกันออกไป
2.การเลือกเรื่อง หลังจากที่ตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียนไว้อย่างชัดเจนแล้ว ต่อไปก็เป็นการเลือกเรื่องสำหรับการเขียนสารคดีจะมีหลักเกณฑ์ที่ต้องพิจารณา หลายประการ คือ
2.1 เลือกเรื่องที่ผู้เขียนมีความถนัดและให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ
2.2 เลือกเรื่องที่ผู้เขียนมีประสบการณ์
2.3 เลือกเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน
2.4 เลือกเรื่องที่มีประโยชน์ต่อสังคม กลุ่มคน
2.5 อื่นๆ ตามที่ผู้เขียนจะพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าเขียนเผยแพร่ 
3. มองหาเนื้อเรื่องที่จะเขียน บางครั้งผู้เขียนสามารถเลือกเรื่องได้แล้ว แต่ปรากฏว่ายังไม่มีเนื้อเรื่องที่จะเขียน ทั้งนี้วิธีง่ายๆ ที่จะมองหาเรื่องสำหรับการเขียนสารคดีนั้นขอให้นำเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรา และรู้เรื่องนั้นดีที่สุดมาเขียนให้ผู้อื่นได้อ่าน
4. การตั้งชื่อเรื่อง หลังจากได้เนื้อเรื่องมาแล้ว ให้คิดตั้งชื่อเรื่องเป็นอันดับแรก เพราะเหตุว่าชื่อเรื่องจะเป็นแนวกำหนดหรือเป็นแนวความคิดรวบยอดให้ทราบว่าเรากำลังจะเขียนสารคดีไปในแนวทางไหนซึ่งจะมีส่วนช่วยในการเขียนตรงตามเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
5. การรวบรวมข้อมูล เมื่อสามารถกำหนดหัวชื่อเรื่องและเนื้อเรื่องได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการเขียนสารคดี โดยข้อมูลที่ได้มาจาก 2 แห่ง คือ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary source) คือ ข้อมูลที่เป็นต้นกำเนิดของเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้เขียนประสบมาโดยตรง ด้วยการสนทนา สอบถาม สัมภาษณ์ เป็นต้น และข้อมูลทุติยะภูมิ (secondary source) คือ ข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบมาแล้วชั้นหนึ่ง จึงนับว่าเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้เป็นอย่างดี
6. การกำหนดโครงเรื่อง เป็นการกำหนดว่าเรื่องที่เขียนนั้นจะเขียนถึงอะไรบ้าง มีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไร ทั้งนี้โครงเรื่องประกอบด้วย 3 ส่วน สำคัญ คือ ความนำ (introduction) ต้องขึ้นต้นให้น่าสนใจ ,เนื้อเรื่อง (body or text) ต้องมีความหมายน่ารู้ น่าศึกษา สรุปเรื่อง (conclusion) ต้องตรงประเด็น

7. การลงมือเขียน เป็นขั้นฝึกปฏิบัติด้วยการลงมือเขียน ทั้งนี้สารคดีจะน่าอ่านหรือไม่น่าอ่านนั้น ส่วนหนึ่งอยู่ที่การใช้ภาษาเป็นสำคัญ และภาษาที่ใช้ในงานเขียนสารคดีจะต้องเป็นภาษาแบบแผนซึ่งมีลักษณะ เป็นคำสุภาพ , ใช้ภาษาที่มีศักดิ์ของคำในระดับเดียวกัน ไม่นำภาษาแสลงเข้ามาใช้ปะปนในงานเขียน, ไม่มีการตัดหรือลดทอนรูปประโยค, น้ำเสียงของคำจะมีลักษณะเคร่งขรึมเป็นกลาง ไม่ตลกขบขัน ไม่เยาะเย้ย ถากถาง ภาษาต้องไม่แสดงออกถึงความรุนแรง หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่เป็นโวหาร ยืดเยื้อ รวมทั้งมีความเคร่งครัดและรักษามาตรฐาน

ภาษาสารคดี

คำว่า  ภาษาสารคดี หมายถึง  ภาษาที่มีการใช้อย่างสละสลวย  ให้มีความสอดคล้องกับรุปแบบใดรูปแบบหนึ่งของสารคดีที่มุ่งเน้าเสนอสาระ  ข้อเท็จจริง  และให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านด้วย
1.การบรรยาย  หมายถึงการเล่าเรื่อง ชี้แจง  หรืออธิบายเรื่องให้ทราบ  ภาษาที่ใช้มีหลายระดับให้สอดคล้องกับเนื้อหา
2.ความถูกต้องชัดเจน  ข้อเท็จจริงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเขียนสารคดี  เพราะจุดมุ่งหมายของการเขียนสารคดีคือ  มุ่งให้ความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่าน  วิธีการที่จะให้ข้อมูลอาจจะทำได้โดยการยกตัวอย่าง  การให้คำจำกัดความ  การใช้แผนภูมิ  และการอ้างอิงแหล่งที่มา  นอกจากนั้นแล้ว ควรมีลักษณะดังนี้
2.1)  การยกตัวอย่าง  จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสาระได้ง่ายขึ้น  ดั้งนั้นการเลือกตัวอย่างจึงเป็นสิ่งสำคัญ  ตัวอย่างจะต้องช่วยให้เกิดความเข้าใจได้ดีขึ้น  ตัวอย่างไม่ต้องมากเกินไป  ไม่ยาวเกินไป  และไม่เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ง่ายและเข้าใจง่าย                                                                                                                                                                               
2.2)  การให้คำจำกัดความ  หรืออธิบายข้อความที่กล่าวถึง  จะเป็นการสร้างความเข้าใจตรงกันในการเสนอสาระนั้น
2.3)  การใช้แผนภูมิประกอบ  เป็นวิธีที่จะช่วยให้ข้อมูลน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น  จะช่วยให้ผู้อ่านเกิดความมั่นใจว่า  สิ่งที่เขียนนั้นมิได้เขียนขึ้นลอยๆ  แต่มีการศึกษาค้นคว้ามาแล้วอย่างมีระบบ                                                                                               2.4)  การอ้างแหล่งข้อมูล  มี 2 วิธีคือ  การเขียนเชิงอรรถและการเขียนบรรณานุกรม เชิงอรรถเป็นรายกายอ้างอิงเอกสารทุกตอนทุกหน้า  แต่บรรณานุกรมหมายถึงชื่อเอกสารและหลักฐานทุกชนิดที่ผู้เขียนนำมาใช้ศึกษาค้นค้วาข้อมูลในการเขียน
2.5)  การใช้สำนวนและโวหาร  ควรเลือกคำที่สื่อความหมายชัดเจน  เข้าใจง่าย  ผู้เขียนและผู้อ่านจะได้สาระที่ตรงกัน  รู้จักนำคำเหล่านั้นมาเรียบเรียงเป็นประโยคเพื่อสื่อความหมาย  มีรูปประโยคที่เหมาะสม  ควรเรียบเรียงง่ายๆ  ไม่ซับซ้อนเพื่อผู้อ่านจะได้ไม่หลงประเด็นไป  ถ้าประโยคมีความยาวมาก  มีการขยายคำ  ขยายข้อความมาก  อาจทำให้อู้อ่านเกิดความสับสน

ระดับภาษา

1.ภาษามาตรฐาน  หรือภาษาระดับพิธีกร  เป็นภาษาที่ดีที่สุดและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์มากที่สุด  มีการใช้ถ้อยคำที่เลือเฟ้นแล้วว่า  ไพเราะและก่อให้เกิดความจรรโลงใจ  ภาษาระดับนี้ใช้ในการเขียนเรื่องสำคัญ  หรือเอกสารที่มุ้งเน้นให้เป็นหลักฐานทางราชการ ผู้ใช้ภาษาระดับนี้มักเป็นบุคคลสำคัญ  ผู้กล่าวมักเตรียมวาทนิพนธ์ไว้ล่วงหน้า 
ภาษามาตรฐาน  ภาษาพิธีกร  หรือภาษาแบบแผน  มีลักษณะสำคัญดังนี้
       1) ใช้ภาษาระดับเดียวกัน  ไม่นำภาษาอื่นมาปะปน
       2)  ใช้คำศัพท์สุภาพที่เป็นศัพท์ทางวิชาการและศัพท์บัญญัติ
       3)  ไม่ใช้คำย่อ  เช่น  ตำแหน่งบุคคลหรือยศ
       4)  ต้องไม่ตัดทอนรูปประโยค
       5)  สำนวนภาษามีลักษณะเป็นกลาง  ไม่ตลกขบขัน  หรือเสียดสียั่วล้อ
       6)  หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่มีลักษณะโต้เถียง  และการใช้ภาษาที่เป็นโวหาร

2.ภาษากึ่งมาตรฐาน  หรือกึ่งพิธีกร   ภาษาระดับนี้คล้ายกับภาษามาตรฐานแต่ลดความเป็นการเป็นงานลงบ้าง  เพื่อให้เกิดสัมพนธภาพระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร
ภาษากึ่งมาตรฐาน  ภาษากึ่งพิธีกร  หรือภาษากึ่งแบบแผน  มีลักษณะสำคัญดังนี้
      1)   บางครั้งอาจใช้คำย่อได้  แต่เป็นคำย่อที่ยอมรับโดยทั่วไปเป็นสากล
      2)  เป็นภาษาสุภาพที่พูดกันอยู่ในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไป
      3)  อาจตัดทอนรูปประโยคได้  แต่ต้องสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนสมบูรณ์
      4)  มีสำนวนเฉพาะตัวให้เห็นความเชื่อมั่นในตนเอง  อาจแสดงทรรศนะหรืออารมณ์ได้ แต่ต้องไม่หยาบคาย
       5)  น้ำเสียงของข้อเขียนไม่เข้มขรึมเอาการเอางาน  อาจมัยั่วล้อและแทรกอารมณ์ขันไว้
3.ภาษาไม่เป็นระดับพิธีการ  หรือระดับกันเอง   ภาษาระดับนี้มักใช้ในวงจำกัด  เช่น  ภายในครอบครัว  ระหว่างสามีภรรยา  หรือระหว่างเพื่อนสนิท  สถานที่มักจะเป็นส่วนตัว ภาษาระดับนี้มรหลายชนิด เช่น ภาษาสแลง  ภาษาอื่น  ภาษาตลาดเป็นต้น

ภาษาที่ใช้ในการเขียนสารคดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

1.ใช้ภาษาสุภาพ
2.  ใช้ภาษาที่มีศักดิ์ของคำในระดับเดียวกัน ไม่นำภาษาสแลง (Slang) เข้ามาใช้ปะปนในงานเขียน
3.  น้ำเสียงของคำจะมีลักษณะเคร่งขรึม  เป็นกลาง  ไม่ตลกขบขัน  ไม่เยาะเย้ยถากถางบุคคลอื่น
4.  ภาษาต้องไม่แสดงออกถึงความรุ่นแรงของเนื้อหานั้น

จุดมุ่งหมายในการเขียนสารคดี

1.ให้ความรู้  ข้อเท็จจริง  และเนื้อหาสาระแก่ผู้อ่าน  ผู้เขียนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนอย่างละเอียดและลึกซึ้ง
2.ให้คำแนะนำแก่ผู้อ่านในการนำไปปฏิบัติได้จริง  ผู้เขียนสารคดีจะต้องมีความรู้อย่างละเอียด  และมีความชำนาญในการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องที่เขียนด้วย  เพื่อจะได้คำแนะนำแก่ผู้อ่านโดยถูกวิธี  และถูกขั้นตอน
3.ให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน  ผู้เขียนจะต้องทำให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินด้วย  วิธีจะให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก  ผู้เขียนสารคดีจะต้องมีความสามารถเฉพาะตัวด้วยประการต่างๆ  เช่น  การใช้สำนวนภาษาที่ชวนให้ผู้อ่านมีความสนุกสนาน  หรือใช้สำนวนภาษาที่มำให้ผู้อ่านมีความคิดเห็นคล้อยตามอยู่ตลอดเวลา  และได้รับความรู้โดยไม่รู้ตัว
4.ให้ความจรรโลงใจแก่ผู้อ่าน  ผู้เขียนสารคดีจะต้องพิจารราถึงเรื่องที่จะเขียนว่าเป็นเรื่องที่ดีสร้างสรรค์เพียงใด  หรือจะส่งผลกระทบต่อสังคมในแง่ใดบ้าง
สรุปได้ว่า  จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการเขียนสารคดี คือ ให้ความรู้ข้อเท็จจริง และเนื้อหาสาระแก่ผู้อ่าน  นอกจากนี้ยังให้คำแนะนำในการปฏิบัติที่เป็นประโยชน์  ให้ความเพลิดเพลิน  และให้ความจรรโลงใจ