วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ภาษาสารคดี

คำว่า  ภาษาสารคดี หมายถึง  ภาษาที่มีการใช้อย่างสละสลวย  ให้มีความสอดคล้องกับรุปแบบใดรูปแบบหนึ่งของสารคดีที่มุ่งเน้าเสนอสาระ  ข้อเท็จจริง  และให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านด้วย
1.การบรรยาย  หมายถึงการเล่าเรื่อง ชี้แจง  หรืออธิบายเรื่องให้ทราบ  ภาษาที่ใช้มีหลายระดับให้สอดคล้องกับเนื้อหา
2.ความถูกต้องชัดเจน  ข้อเท็จจริงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเขียนสารคดี  เพราะจุดมุ่งหมายของการเขียนสารคดีคือ  มุ่งให้ความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่าน  วิธีการที่จะให้ข้อมูลอาจจะทำได้โดยการยกตัวอย่าง  การให้คำจำกัดความ  การใช้แผนภูมิ  และการอ้างอิงแหล่งที่มา  นอกจากนั้นแล้ว ควรมีลักษณะดังนี้
2.1)  การยกตัวอย่าง  จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสาระได้ง่ายขึ้น  ดั้งนั้นการเลือกตัวอย่างจึงเป็นสิ่งสำคัญ  ตัวอย่างจะต้องช่วยให้เกิดความเข้าใจได้ดีขึ้น  ตัวอย่างไม่ต้องมากเกินไป  ไม่ยาวเกินไป  และไม่เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ง่ายและเข้าใจง่าย                                                                                                                                                                               
2.2)  การให้คำจำกัดความ  หรืออธิบายข้อความที่กล่าวถึง  จะเป็นการสร้างความเข้าใจตรงกันในการเสนอสาระนั้น
2.3)  การใช้แผนภูมิประกอบ  เป็นวิธีที่จะช่วยให้ข้อมูลน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น  จะช่วยให้ผู้อ่านเกิดความมั่นใจว่า  สิ่งที่เขียนนั้นมิได้เขียนขึ้นลอยๆ  แต่มีการศึกษาค้นคว้ามาแล้วอย่างมีระบบ                                                                                               2.4)  การอ้างแหล่งข้อมูล  มี 2 วิธีคือ  การเขียนเชิงอรรถและการเขียนบรรณานุกรม เชิงอรรถเป็นรายกายอ้างอิงเอกสารทุกตอนทุกหน้า  แต่บรรณานุกรมหมายถึงชื่อเอกสารและหลักฐานทุกชนิดที่ผู้เขียนนำมาใช้ศึกษาค้นค้วาข้อมูลในการเขียน
2.5)  การใช้สำนวนและโวหาร  ควรเลือกคำที่สื่อความหมายชัดเจน  เข้าใจง่าย  ผู้เขียนและผู้อ่านจะได้สาระที่ตรงกัน  รู้จักนำคำเหล่านั้นมาเรียบเรียงเป็นประโยคเพื่อสื่อความหมาย  มีรูปประโยคที่เหมาะสม  ควรเรียบเรียงง่ายๆ  ไม่ซับซ้อนเพื่อผู้อ่านจะได้ไม่หลงประเด็นไป  ถ้าประโยคมีความยาวมาก  มีการขยายคำ  ขยายข้อความมาก  อาจทำให้อู้อ่านเกิดความสับสน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น